3 Minutes To Read

การถกเถียงเกี่ยวกับการสร้างเขื่อน การผันน้ำ และเงื่อนไขการพัฒนาในลุ่มน้ำสาละวิน

3 Minutes To Read
  • English
  • ซาลี ฟัง และ มึดา นาวานาถ หารือเกี่ยวกับโครงการผันน้ำยวมที่ถกเถียงเถียงกัน

    The English version of this article was originally published on April 3, 2023. Read the post here.  A Burmese translation is available here.

    เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2561 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำยวม ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งใกล้กับชายแดนไทย-เมียนมาร์  ได้ยินเกี่ยวกับแผนของรัฐบาลไทยได้รื้อฟื้นการสร้างเขื่อนในแม่น้ำและผันน้ำสู่ภาคกลาง ชาวบ้านและภาคประชาสังคมที่จะได้รับผลกระทบมีความกังวลว่าโครงการผันน้ำยวม (ต่อไปนี้จะใช้คำว่า ผันน้ำยวม)จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางและจะสร้างความเสียหายต่อวิถีชีวิต วิถีชุมชนที่ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในหลายๆด้าน โครงการผันน้ำยวมได้รับการต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากชุมชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ซึ่งชุมชนได้โต้แย้งว่า เสียงของชุมชนได้ถูกมองข้ามในการประกอบการตัดสินใจ  ดั่งเช่น คุณไพบูลย์ เฮงสุวรรณ ได้ให้แสดงความเห็นว่า ในขณะที่ชุมชนแถบชายแดนลุ่มน้ำสาละวินได้คัดค้านโครงการเขื่อนขนาดใหญ่และการผันน้ำมาโดยตลอด เพราะชุมชนกังวลเกี่ยวกับการเข้าถึงและการควบคุมทรัพยากรในลุ่มน้ำ แต่ชุมชนไม่จำเป็นต้อง “ต่อต้านการพัฒนา” และพยายามกำหนดรูปแบบการพัฒนา “ตามเงื่อนไขของตนเอง” ดังที่เราแสดงให้เห็นในกรณีของการผันน้ำยวม

    การข้ามพรมแดนของแม่น้ำสาละวินได้เริ่มต้นที่ราบสูงของทิเบตและไหลผ่านประเทศจีน เมียนมาร์ ก่อนที่จะไหลสู่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ และไหลเข้าเมียนมาร์เพื่อมุ่งสู่ทะเลอันดามันอีกครั้ง ส่วนแม่น้ำยวมได้ไหลจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยลงสู่แม่น้ำสาละวินโดยผ่านแม่น้ำเมย ทั้งแม่น้ำเมยและแม่น้ำสาละวินได้ไหลยาวเป็นเขตแดนกั้นระหว่างไทย-เมียนมาร์  ที่ตั้งพื้นที่โครงการเขื่อนน้ำยวมตามที่รัฐเสนอให้สร้างอยู่ห่างจากชายแดนนี้ประมาณ 14 กิโลเมตร หลายชุมชนและภาคประชาสังคมได้ให้การสัมภาษณ์ถึงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดนของเขื่อน รวมถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของชนเผ่ากะเหรี่ยงที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับแม่น้ำ และมีความกังวลถึงการอพยพของปลาระหว่างลุ่มน้ำยวมและน้ำสาละวิน อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยังไม่มีการปรึกษาหารือกับชุมชนปลายน้ำและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องในประเทศเมียนมาร์

    ในลุ่มน้ำสาละวินมีการเสนอสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาดใหญ่และการผันน้ำมานานกว่าสี่ทศวรรษ ซึ่งรวมถึงการเสนอสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าบนแม่น้ำสาขาสำคัญของสาละวิน หมายรวมถึงเขื่อนเว่ยจีและเขื่อนดากวินที่เขตชายแดน และเขื่อนฮัตจีในเขตรัฐกะเหรี่ยง จากนั้นก็นำเข้าสู่ขั้นตอนของการทำ EIA เขื่อนเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อชุมชนและถูกต่อต้านจากชุมชนทั้งสองฝั่งของชายแดน รวมถึงชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อยู่อาศัยทั้งสองฝั่งชายแดนก่อนถึงการกำหนดเขตแดนในช่วงการปกครองอาณานิคมของอังกฤษในเมียนมาร์

    ที่ผ่านมาหลายทศวรรษชุมชนลุ่มน้ำสาละวินมีได้การเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโต้ต่อการเสนอสร้างโครงการเขื่อนและการผันน้ำ เป็นเวลากว่าสองทศวรรษ ในทุกๆปีของวันสากลวันแห่งการต่อสู้เพื่อแม่น้ำ 14 มีนาคม หรือวันหยุดเขื่อนโลก ตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาต่างๆจากฝั่งเมียนมาร์และไทยได้รวมตัวกันที่ริมน้ำสาละวินและแม่น้ำสาขาต่างๆเป็นการเฉลิมฉลองและปกป้องแม่น้ำและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และมากกว่านั้นเป็นการต่อต้านการสร้างเขื่อนและการผันน้ำ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การรัฐประหารในประเทศเมียนมาร์ เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ความรุนแรงและการละมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนและนักกิจกรรมได้ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้กิจกรรมข้ามพรมแดนดังกล่าวเป็นไปอย่างจำกัด ใน“ชุมชนชายแดน” แห่งลุ่มน้ำสาละวินได้มองเห็นรูปแบบการพัฒนาทางเลือกใหม่ ซึ่งต่างจากการพัฒนาเชิงเผด็จการจากบนสู่ล่างของการพัฒนาพลังงานน้ำ ตัวอย่างเช่น อุทยานสันติภาพสาละวินเป็นโครงการที่ริเริ่มนำโดยชาวกะเหรี่ยงในรัฐกะเหรี่ยงและตามแนวชายแดนลุ่มน้ำสาละวิน ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์และการกำกับดูแลควบคุมทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนรวมถึงบริเวณของเขื่อนฮัตจี

    รัฐบาลไทยได้สำรวจการผันน้ำข้ามพรมแดนจากลุ่มน้ำสาละวินไปยังภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 รวมถึงแม่น้ำสาขา เช่น แม่น้ำยวม ในการให้สัมภาษณ์ของผู้สูงอายุและนักกิจกรรมในพื้นที่หลายคนจำได้ว่าเคยได้ยินเกี่ยวกับเขื่อนและการผันน้ำเหล่านี้เมื่อพวกเขายังเป็นเด็ก และมีบางคนก็เคยต่อต้านการรื้อฟื้นโครงการซ้ำๆก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงเขื่อนแม่ลามาหลวงบนแม่น้ำยวม ซึ่งถูกเสนอสร้างเมื่อปี พ.ศ.2533 แต่ไม่เคยได้สร้างเนื่องจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและแรงกระแสต่อต้านจากชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งตอนนี้หลายคนจากในสมัยนั้นก็คงต่อต้านโครงการผันน้ำยวมในปัจจุบัน

    ในปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลไทยได้สำรวจเส้นทางการผันน้ำหลายเส้นทางจากลุ่มน้ำสาละวินไปยังเขื่อนภูมิพล โดยมีการผันน้ำยวมเป็นตัวเลือกหนึ่ง โครงการนี้ได้พัฒนาโดยกรมชลประทานของประเทศไทย การผันน้ำยวมต้องเสร้างเขื่อนสูง 69.5 เมตร บนแม่น้ำยวม ต้องสร้างสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ส่งน้ำยาว 61 กิโลเมตร ที่จะต้องผ่านสามจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยและต้องผ่านพื้นที่ป่าสงวนหลายแห่งเพื่อผันน้ำไปยังเขื่อนภูมิพลสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 รายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แต่ภาคประชาสังคมและชุมชนมองว่า EIA ฉบับนี้มีความบกพร่องอย่างมหาศาล ซึ่งในขณะที่โครงการนี้คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณ 70,000 ล้านบาท (2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และต้องใช้เวลาสร้าง 7 ปี สื่อรายงานว่ารัฐวิสาหกิจของจีนจะสร้างโครงการนี้ด้วยความเร็วสูง จะลดทั้งระยะเวลาในการสร้างและต้นทุนครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของประเทศจีน (China’s Belt and Road Initiative) อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานที่เปิดเผยต่อสาธารณะ

    วิธีการ

    งานวิจัยที่กำลังนำเสนอนี้ (2564-ต่อเนื่อง) มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับสมาชิกในชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ, ภาคประชาสังคม ประกอบด้วย นักเคลื่อนไหว, เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน, นักวิชาการ และรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ  ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยระดับปริญญาเอกของซาลี งานวิจัยนี้โดยมีมึดาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยและล่ามแปลภาษาอังกฤษ-ไทย-กะเหรี่ยง มึดาเป็นนักเคลื่อนไหวชนเผ่ากะเหรี่ยงและทำงานเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำสาละวินมานาน มึดาเป็นอดีตคนไร้รัฐไร้สัญชาติ อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่เขื่อนน้ำยวม เธอได้เรียกร้องสิทธิการเป็นพลเมืองของคนไร้สัญชาติในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน

    งานวิจัยของซาลีและมึดา ได้ดำเนินการในบ้านอูน [1] ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยวม และอยู่ใกล้บริเวรพื้นที่สร้างเขื่อน ผู้คนในพื้นที่ระบุว่าเป็นกะเหรี่ยงโปว์และกะเหรี่ยงสกอร์  และกลยุทธการดำรงชีวิตเป็นการพึ่งพาอาศัยตามความหลากหลายของฤดูกาล  รวมถึงการเก็บของป่าในป่าที่สามารถกินได้ (เช่น ผักริมแม่น้ำ เห็ด บุก และอื่นๆ)มีการประมงและการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน คนในพื้นที่จำนวนมากที่ยังไม่มีสัญชาติไทย และหรือโฉนดที่ดิน ผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนได้สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ได้จำกัดสิทธิและความสามารถในการเรียกร้องค่าชดเชยและขาดความมั่นใจในการที่จะคัดค้านโครงการพัฒนาของรัฐโดยอย่างเปิดเผย นอกจากนี้ยังมีการในบ้านลาวซึ่งเป็นชุมชนกะเหรี่ยงโปว์ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้ปลายอุโมงค์ การดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ทำสวนลำไยและการเก็บของป่า และหลายคนก็ยังไม่มีโฉนดที่ดินอย่างเป็นทางการ ชุมชนดังกล่าวจะได้รับผลกระทบจากการทิ้งเศษดินและหินจากการก่อสร้างอุโมงค์บนพื้นที่เพาะปลูกและป่าไม้ของชุมชน

    ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

    คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายด้าน ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อวิถีชีวิตที่พึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงมีความกังวลว่าโครงการจะทำให้น้ำท่วมรุนแรงมากขึ้นในช่วงฤดูฝนและจะทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงการทำลายพื้นที่ป่าคุ้มครองและพื้นที่ป่าที่มีความสำคัญทางจิตวิญญาณ แม่น้ำยวมและแม่น้ำสาละวินมีความหลากหลายทางชีวิภาพ น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงปลาอพยพหลากหลายชนิด ผู้ตอบแบบสอบถามมีกังวลว่าเขื่อนจะปิดกั้นการอพยพของปลา เยาวชนชายคนหนึ่งอธิบายว่า “หากพวกเขาปิดกั้นแม่น้ำด้วยเขื่อน ปลาเหล่านั้นก็จะไม่สามารถว่ายโยกย้ายได้” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนกันยายน 2564) ปลามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในพื้นที่ ทั้งเพื่อการบริโภค เป็นแหล่งโปรตีนและสร้างรายได้ นอกจากนี้คุณชัย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้แสดงความกังวลว่า การผันน้ำอาจลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำจากลุ่มน้ำสาละวินไปยังลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีชนิดปลาทั่วไปเพียงหกชนิดเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบเสียหายได้

    มีหลักฐานมากมายที่ปรากฎให้เห็นว่าเขื่อนมีผลกระทบด้านลบต่อปลาและการดำรงชีวิตของปลาในแม่น้ำ เช่น คณะกรรมการเขื่อนโลกรายงานว่า หลังจากสร้างเขื่อนปากมูลเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปรากฏว่าการจับปลาลดลงถึง 60-80% และสายพันธุ์ปลาลดลงโดยตรงจากต้นน้ำเขื่อนปากมูลของไทยในแม่น้ำมูลลุ่มน้ำโขง ถึงแม้ว่ามีปัจจัยหลายอย่างของมนุษย์อาจมีส่วนทำให้เกิดปัญหานี้ แต่เขื่อนนี้ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างกว้างขวางและเป็นหล่อหลอมการเมืองของการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาคและระดับโลก ในรายงานการตรวจสอบเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วโลกของคณะกรรมการเขื่อนโลก ปี พ.ศ.2563 ได้ระบุถึงความสำคัญการให้ฉันทานุมัติที่ได้รับการรับรู้ บอกแจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ (Free, Prior and Informed Consent: FPIC) ที่ต้องปฏิบัติต่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนและการพัฒนา ในกระบวนการพัฒนาโครงการผันน้ำยวมขาดการปฏิบัติตามหลักการของ FPIC คือเหตุผลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของการคัดค้านของชุมชนและภาคประชาสังคม

    การท้าทายเงื่อนไขของการพัฒนา

    ผู้ให้สัมภาษณ์ได้เล่าถึงปัญหาหลายประการเกี่ยวกับกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการผันน้ำยวม รวมถึงการขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนและขาดกระบวนการ FPIC ในขณะที่มีการทำประชาพิจารณ์หลายครั้ง มีการขัดขวางการมีส่วนร่วมหลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น ผู้ให้สัมภาษณ์รายงานว่ามีการจัดทำประชาพิจารณ์เป็นภาษาไทยกลางและไม่มีการแปลเป็นภาษากะเหรี่ยง ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น เวทีรับฟังความเห็นจัดขึ้นหลายครั้ง แต่จัดขึ้นในช่วงฤดูฝนและหรือภายใต้ข้อจำกัดของสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะสำหรับชุมชนห่างไกล ที่สำคัญที่สุดประชาชนที่อยู่ในพื้นที่และภาคประชาสังคมไม่มีโอกาสได้ทบทวนรายงาน EIA ก่อนที่จะผ่านการอนุมัติจาก กก.วล ทางทีม EIA จัดการเขียนข้อมูลฝ่ายเดียวทั้งหมด ซึ่งกระบวนการดังกล่าวขัดกับหลักการ FPIC โดยตรง ผู้ให้สัมภาษณ์จากภาคประชาสังคมได้อธิบายว่า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการอนุมัติรายงาน EIA ได้เรียกเงินจำนวน 20,000 บาท (600 เหรียญสหรัฐ) เพื่อให้เขาเข้าถึงข้อมูล EIA ได้ พวกเขาได้รับสำเนา EIA ที่ผ่านการแก้ไขหลายอย่างหลังจากที่ผ่านการอนุมัติ คนในพื้นที่จำนวนมากได้รายงานว่าในระหว่างเวทีรับฟังความเห็น ผู้เสนอโครงการได้นำเสนอข้อมูลเรื่อง “ผลประโยชน์” ของโครงการเพียงด้านเดียวเท่านั้น และคนในพื้นที่รู้สึกว่าเสียงของพวกเขาไม่ได้รับการพิจารณาประกอบในการตัดสินใจ เหมือนดั่งชาวบ้านอาวุโสท่านหนึ่งในหมู่บ้านอูน ได้กล่าวว่า “เมื่อคนในท้องถิ่นได้แจ้งความกังวลของพวกเรา รัฐบาลไม่เคยได้รับการตอบกลับ เมื่อคนไม่เห็นด้วยกับโครงการ รัฐบาลก็ไม่บันทึกข้อมูลังกล่าวในรายงาน EIA” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนกันยายน 2564)

    ผู้ตอบแบบสอบถามได้ยกตัวอย่างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหลายประการ ซึ่งรวมถึงข้อมูลในรายงาน EIA คุณเชตร ในฐานะผู้นำหมู่บ้านคนหนึ่งจากหมู่บ้านอูน ได้อธิบายว่า “ผมไม่เคยให้ข้อมูลว่าผมสนับสนุนโครงการในรายงาน EIA ผมไม่ได้คุยเรื่องนี้ในรายละเอียด เราเพียงพูดคุยกันแบบสั้นๆกับทีมงาน EIA แต่กรมชลฯอ้างว่าเรา (เชตรกับภรรยา) สนับสนุนโครงการนี้” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนมกราคม 2565) ชาวบ้านหลายคนรู้สึกว่าพวกเขาถูกบิดเบือนข้อมูลโดยทีมทำรายงาน EIA ตัวอย่างเช่น ผู้นำบ้านอูนบอกว่าในเวทีรับฟังความเห็น ทีมทำ EIA ได้ขอให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการให้ยกมือขึ้นและ “พวกเขาก็ถ่ายรูปและพูดว่า ‘คนเหล่านี้เห็นด้วยกับโครงการ’” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564) ในขณะเดียวกันผู้นำชุมชนบ้านลาวรู้สึกว่าชุมชนถูก “หลอก” เพราะนักข่าวได้ “บิดเบือนความจริงว่าชาวบ้านบอกนักข่าวว่าพวกเขาเห็นด้วยกับโครงการ” แต่ชาวบ้านไม่เคยทำหรือพูดแบบนั้น (สัมภาษณ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565) รายงาน EIA กลายเป็นที่เรียกเสียดสีกันว่า #อีไอเอร้านลาบ (#EIALaab) เกิดจากเหตุการณ์ที่กรมชลฯเชิญชวนสมาชิกภาคประชาสังคมไปรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านลาบ ในระหว่างนั้นก็มีการถ่ายรูปและใช้รูปภาพดังกล่าวเป็น ‘หลักฐาน’ ว่าเป็นการปรึกษาหารือสาธารณะ #อีไอเอร้านลาบ ถูกใช้อย่างกว้างขวางในสื่อโซเชียล โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน (รูปที่ 3) และมีบ่อยครั้งเมื่อผู้ให้สัมภาษณ์พูดถึง ‘อีไอเอร้านลาบ’ มักจะมีเสียงหัวเราะ

    ในทางตรงกันข้ามนักการเมืองไทยที่สนับสนุนโครงการอ้างว่ารายงาน EIA นั้น “ละเอียดพิถีพิถันมาก รายงาน EIA แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้มีความเป็นไปได้และไม่ได้ทำให้ใครเสียหาย” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2565) เจ้าหน้าที่กรมชลฯยังเน้นย้ำว่ารายงาน EIA เป็นข้อมูล “เชิงลึก”และดำเนินการตาม “กฎหมาย” และพร้อมมีแนวทางแก้ไขเพื่อลดผลกระทบของโครงการ (สัมภาษณ์ณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2565) แต่ถึงอย่างไรตามที่ระบุไว้ข้างต้นที่ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวอ้างเหล่านี้ รายงาน EIA ได้กลายเป็นประเด็นที่สำคัญของการถกเถียง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการต่อต้านไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับตัวโครงการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถของผู้คน “มีบทบาทที่จะพูด” เกี่ยวกับการพัฒนาอีกด้วย

    การคัดค้านโครงการผันน้ำยวม

    ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทั้งหมดที่เราได้สัมภาษณ์ทั้งสองพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับการผันน้ำยวม ชาวบ้านประมาณสองสามคนได้อธิบายว่าในช่วงแรกพวกเขาเห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะพวกเขาเชื่อวาทศิลป์ของรัฐบาลว่า โครงการจะสร้างงานและปรับปรุงคุณภาพชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่พวกเขาได้เปลี่ยนใจเมื่อพวกเขาได้รู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการ เยาวชนเป็นผู้นำการคัดค้านการผันน้ำยวมอย่างเปิดเผย รวมทั้งประท้วงผ่านกิจกรรม 14 มีนาคม (วันหยุดเขื่อนโลก) ที่บ้านอูน กิจกรรมในวันที่ 14 มีนาคม มักจะมีการบวชป่า หรือพิธีบวชให้ต้นไม้ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ นักกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะนำผ้าจีวรของพระสงฆ์พันรอบต้นไม้เพื่ออธิฐานและปกป้องพวกเขา รวมถึงการปกป้องจากโครงการพัฒนา ในช่วงไม่กี่ปี่ที่ผ่านมา พิธีกรรมนี้จัดขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำที่เป็นพื้นที่ป่าซึ่งจะได้รับความเสียหายจากการผันน้ำยวม ซึ่งหลายคนมองว่าการบวชป่าเป็นต่อต้านการผันน้ำยวม ผู้สูงอายุและนักกิจกรรมจำนวนมากต่อต้านการเสนอโครงการเขื่อนและการผันน้ำก่อนหน้านี้ เพราะมองว่าโครงการเหล่านี้และการต่อสู้มีความต่อเนื่องกันมาตลอดและหลายชั่วอายุคน

    วิสัยทัศน์ทางเลือก

    ชุมชนลุ่มน้ำสาละวินคัดค้านการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และการผันน้ำ เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและการดำรงชีวิต ดังที่ได้แสดงข้อมูลในที่นี้ มากกว่าที่จะเป็น “การต่อต้านการพัฒนา” ชุมชนเหล่านี้ต้องการกำหนดรูปแบบการพัฒนาด้วยตนเองและต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และต้องการแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น ในหนังสือถึง สผ. เมื่อปี พ.ศ. 2564 ชาวบ้านลุ่มน้ำยวมและสาละวินได้ระบุว่า “เราต้องการให้รัฐได้ให้เราเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อ…อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและปกป้องลุ่มน้ำสาละวิน” เหมือนดั่งที่เยาวชนหญิงคนหนึ่งจากหมู่บ้านริมแม่น้ำสาละวินได้อธิบายว่า “เราไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา แต่ต้องเป็นการพัฒนาที่ดี…เราต่อต้านสิ่งที่สร้างผลกระทบในทางลบ” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2565)

    ผู้ให้สัมภาษณ์ได้แสดงวิสัยทัศน์ทางเลือกสำหรับการธรรมาภิบาลในจัดการแม่น้ำที่นอกเหนือจากการพัฒนาเขื่อน จากมุมมองเชิงนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แย้งว่า แทนที่จะสร้างผันน้ำยวมที่มีราคาแพงมาก รัฐบาลควรที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงข่ายน้ำประปา เนื่องจาก “เรามีการสูญเสียน้ำประมาณ 40% ในระบบชลประทาน เนื่องจากขาดประสิทธิภาพ” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนกันยายน 2564) เยาวชนจากชุมชนที่จะได้รับผลกระทบได้ตั้งคำถามว่า เหตุใดรัฐบาลจึงทุ่มเทเงินจำนวนมหาศาลเพื่อโครงการขนาดใหญ่ ทั้งที่จะทำลายวิถีชีวิตและอนาคตที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติของพวกเขา และเสนอว่าควรนำเงินจำนวนดังกล่าวไปลงทุนกับโครงการที่จำเป็นประโยชน์ต่อชุมชนของพวกเขาแทน ทั้งด้านสุขภาพ การศึกษาและการปกป้องสิ่งแวดล้อม

    คนอื่นๆได้เน้นถึงสำคัญที่จำเป็นในการจัดการน้ำจากมุมมองแบบองค์รวมมากขึ้น เจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านปัญหาแม่น้ำโขง-สาละวินมาหลายทศวรรษ ได้ย้ำถึงความจำเป็นในการจัดการน้ำและ “เข้าใจน้ำในมิติต่างๆ” (สัมภาษณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564) ในขนะเดียวกันคุณชัยได้สะท้อนความเห็นว่า กรมชลประทานรู้เพียงแค่ “วิธีกั้นน้ำ…และไม่เข้าใจอะไรสักอย่างที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำหรือวิถีชีวิตผู้คน”  คนในพื้นที่และภาคประชาสังคมมองเห็นรูปแบบทางเลือกของธรรมาภิบาลการปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงอุทยานสันติภาพสาละวินและเขตพื้นที่แม่น้ำสงวนที่จัดการโดยชุมชนตามลุ่มน้ำสาขาสาละวินในประเทศไทย แทนการสร้างเขื่อนและสร้างความเสียหาย

    ในขณะเดียวกันได้มีการปรึกษาหารือ[2]กันว่าการรัฐประหารอาจเป็นการกระตุ้นโครงการที่กำลังถกเถียงกัน รวมถึงเขื่อนฮัตจี ในท่ามกลางความขัดแย้งที่มีทวีความรุนแรงขึ้นในลุ่มน้ำสาละวิน ก็ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถของชุมชนและภาคประชาสังคมในการรวมตัวกันและการจินตนาการรูปแบบทางเลือกของธรรมาภิบาลด้านน้ำข้ามพรมแดน แต่อย่างไรก็ตาม ชุมชนและประชาสังคมก็ยังคงยืนหยัดในความพยายามปกป้องแม่น้ำสาละวิน ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566 ชาวบ้านและนักเคลื่อนไหวรวมตัวกันอีกครั้งตามแนวแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำสาขา เพื่อต่อต้านการผันน้ำยวมและโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่ถูกเสนอให้สร้างในลุ่มน้ำต่างๆ

    ซาลี ฟัง เป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น งานวิจัยของเธอคือการศึกษาการเมืองเกี่ยวกับเขื่อนและการผันน้ำในลุ่มน้ำสาละวิน

    มึดา นาวานาถ เป็นนักกฎหมาย นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและหญิงชนเผ่ากะเหรี่ยงที่เติบโตในลุ่มน้ำสาละวิน

    Notes
    [1] ผู้ให้สัมภาษณ์และชื่อสถานที่เป็นนามแฝงเพื่อปกป้องตัวตนของผู้เข้าร่วมงาน
    [2] E.g., Roney et al. 2021; De Langre 2022; Frontier Myanmar 2022.

    Stay in the loop.

    Subscribe with your email to receive the latest updates from Tea Circle.
    This field is required.